查看原文
其他

泰国历史|古代泰中关系(一)

泰正点 2024-07-01

The following article is from 四点零翻译工作坊 Author 4.0汉泰云译客

点击蓝字

关注我们


古代泰中关系

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนสมัยโบราณ


翻译:裘清源

审校:潘迦鑫

终审:郝钰琪


编者按:

随着泰中两国之间的友好发展,

泰中关系变得日渐紧密。

想知道泰中关系的发展历史吗?

那就跟着小编一起来了解一下吧~


全文录音

中文主播:李艾伦

泰语主播:韦晶莲


泰国(古称暹罗)和中国自古以来便睦邻友好,且泰中两国人民在文化、经济和政治上交往、联系已久。尽管相较于泰国,中国疆域更为辽阔且人口更加密集,但两国实则互利往来,亲如一家。纵观历史长河,泰中两国一直关系密切,而由于国内外形势的影响,两国时而交往频繁,时而有所疏远。

ประเทศไทย หรือที่รู้จักกันในสมัยโบราณว่าสยาม และประเทศจีน เป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงมาช้านาน ชาวไทยและชาวจีนได้ไปมาหาสู่และติดต่อสัมพันธ์กันทั้งทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองมาตั้งแต่โบราณ แม้ว่าประเทศจีนเป็นประเทศที่ใหญ่กว่าและมีพลเมืองมากกว่าประเทศไทยก็ตาม แต่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองส่วนมากจะมีลักษณะที่เอื้อประโยชน์ต่อกันฉันท์ญาติมิตร ตลอดระยะเวลาอันยาวนานของประวัติศาสตร์ ประเทศไทยกับประเทศจีนได้มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิด บางขณะอาจไปมาหาสู่กันบ่อยครั้ง ในบางคราวอาจห่างเหินไปบ้าง อันเนื่องมาจากปัญหาภายในของแต่ละประเทศและสถานการณ์ระหว่างประเทศ

当毛泽东的领导下的中国共产党取得中国大陆的政权,并于1949年10月1日成立以中共为核心的“中华人民共和国”之时,泰国并未立即承认中共政府的合法地位。直到1975年7月1日,时任泰国总理的克立·巴莫亲王访问北京,方同中国总理周恩来正式签署《中泰建交联合公报》。如今,泰中两国关系日益紧密,不仅民间、国家往来频繁,且还辐射至政治、经济和社会文化等各层面。

เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตุงยึดอำนาจแผ่นดินใหญ่จีน และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ โดยสถาปนาประเทศเป็น “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ไทยมิได้รับรองรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน จนกระทั่งวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 เมื่อ ฯพณฯ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้น เดินทางไปเยือนกรุงปักกิ่ง และลงนามในแถลงการณ์ความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับโจวเอินไหล นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน นับตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ทวีความใกล้ชิดยิ่งขึ้น โดยมีการเดินทางไปมาหาสู่กันทั้งในระดับประชาชนทั่วไปและระดับผู้นำของทั้งสองประเทศ อีกทั้งความสัมพันธ์ก็ขยายครอบคลุมไปทุก ๆ ด้าน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม  

在梳理过去30年中泰关系之迭变及未来的发展趋势时,也须了解两国关系的历史起源。

ในการศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา และแนวโน้มในอนาคต จำเป็นต้องเข้าใจความเป็นมาหรือประวัติภูมิหลังของความสัมพันธ์ไทยและจีนในอดีตด้วย


在1975年正式建立外交关系之前,泰中关系可分为3个发展阶段:

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนในอดีตก่อนการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2518 นั้น ได้พัฒนาเป็น 3 ระยะดังนี้ คือ

1.古代关系(中国历朝历代同泰国的关系),起自1282年素可泰建都,随后迁都至阿瑜陀耶、吞武里和曼谷,终至1853年却克里王朝蒙固王统治的古王国时期。

1.ความสัมพันธ์ในสมัยโบราณ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างจีนราชวงศ์ต่างๆ กับไทย ตั้งแต่สมัยที่อาณาจักรโบราณตั้งเมืองหลวงอยู่ที่สุโขทัยใน พ.ศ. 1825 ต่อมาย้ายเมืองหลวงมาที่อยุธยา ธนบุรี และกรุงเทพฯ จนถึง พ.ศ. 2396 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งราชวงศ์จักรีที่กรุงเทพฯ

2.第二次世界大战前的现代关系(西方帝国主义压迫下的中泰关系),起自1857年,终至二战结束的1945年。

2.  ความสัมพันธ์สมัยใหม่ ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไทยที่เผชิญกับจักรวรรดินิยมตะวันตกระหว่าง พ.ศ. 2400 – 2488 ซึ่งเป็นปีสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

3.第二次世界大战后的关系(正式建交前的中泰关系),起自1946年,终至1974年。

3. ความสัมพันธ์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2489 จนถึง พ.ศ. 2517 ก่อนการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2518


1.古代泰中关系:朝贡外交

1.ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนสมัยโบราณ : การทูตบรรณาการ

尽管泰中两国相距不远,但古代陆路交通实为艰险。由于地形道路险象环生,因此两国常通过海路交往联系,进而衍生出“帆船贸易”。最初,黄河流域为中国政治中心。西汉时期(佛历337-568),中国曾派使节同他钦河、湄公河以及湄南河流域的多个东南亚远古部族交往,如堕罗钵底(堕和罗国)、罗斛国(乌通)、暹国(素可泰或素攀那蒲米)等。古时泰中交往由来已久,但据史料记载,古代中泰正式的外交关系始于泰国素可泰时期,彼时中国正处于蒙古人统治下的大元王朝。中泰往来始源于中方,据《元史》记载,大约1282年,元朝皇帝忽必烈派使节同湄南河流域的暹罗国交往。

ประเทศไทยและจีน แม้ว่าจะอยู่ไม่ไกลกัน แต่การติดต่อถึงการทางบกในสมัยโบราณค่อนข้างลำบาก เนื่องจากเส้นทางและภูมิประเทศค่อนข้างทุรกันดาร ดังนั้น การติดต่อระหว่างประเทศทั้งสองจึงมักใช้ทางทะเล ซึ่งนำไปสู่ “การค้าสำเภา” (Junk Trade) ระหว่างกัน เดิมจีนมีศูนย์กลางอำนาจที่ลุ่มแม่น้ำฮวงโฮ จีนสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (พ.ศ. 337 – 568) ได้ส่งทูตมาติดต่อกับชุมชนโบราณหลายชุมชนในเอเชียอาคเนย์ รวมทั้งบริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีน แม่กลอง และเจ้าพระยา เช่น ตว้อหลอพอตี้ (ทวาราวดี)หลอหู (อาจหมายถึงละโว้หรืออู่ทอง) เสียน (อาจหมายถึงสุพรรณภูมิหรือสุโขทัย) การติดต่อระหว่างไทยกับจีนในสมัยโบราณนั้นมีมานานแล้ว แต่เท่าที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์สมัยโบราณอย่างเป็นทางการได้เริ่มขึ้นในสมัยสุโขทัยของไทย ซึ่งเป็นสมัยเดียวกันกับที่ราชวงศ์หยวนของเผ่ามองโกลในจีน การติดต่อระหว่างจีนกับไทยได้มีขึ้นโดยทางฝ่ายจีนเป็นผู้ริเริ่มก่อน พงศาวดารจีนราชวงศ์หยวนได้บันทึกไว้ว่า ประมาณปี พ.ศ. 1825 จักรพรรดิกุบไลข่านแห่งราชวงศ์หยวนได้ส่งทูตเข้ามาติดต่อกับอาณาจักร “เสียน” ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

“至元十九年六月己亥,命何子志为管军万户,使暹国”。但由于中国使节在航海途中被占婆人抓捕杀害,因而并未抵达素可泰。

“ปีที่ 19 ในรัชกาลจื้อหยวน เดือนหก วันจีไฮ่ มีรับสั่งให้เหอจื่อจื้อซึ่งเป็นนายพล เป็นทูตไปยังประเทศสยาม (เสียน)” แต่ปรากฏว่าคณะทูตของจีนชุดนี้มาไม่ถึงสุโขทัย เพราะถูกพวกจามแห่งอาณาจักรจามปาจับตัวในระหว่างเดินทางและประหารชีวิตหมด”

公元1292年,素可泰王国的兰甘亨国王首次派遣外交使团前往中国。历史学家素珊博士推测,此次遣使具有政治目的——由于素攀那蒲米王国于1291年向中国进贡寻求政治支持,因而此举实为素可泰王国阻止忽必烈大帝支持素攀那蒲米王国的外交政策。

ต่อมา พ่อขุนรามคำแหงแห่งอาณาจักรสุโขทัยได้ส่งคณะทูตไปยังจีนครั้งแรก ใน พ.ศ. 1835 ดร. สืบแสง พรหมบุญ นักประวัติศาสตร์ ได้สันนิษฐานว่า การส่งทูตไปยังจีนครั้งนั้นมีเป้าหมายทางการเมือง เป็นการดำเนินวิเทโศบายทางการทูตของอาณาจักรสุโขทัยเพื่อป้องกันมิให้จักรพรรดิกุบไลข่านสนับสนุนอาณาจักรสุพรรณภูมิ ทั้งนี้เพราะอาณาจักรสุพรรณภูมิได้เคยส่งเครื่องบรรณการไปยังจีน ใน พ.ศ. 1834 เพื่อขอความสนับสนุนทางการเมือง

中方文献指出,公元1292年至1322年间,素可泰王国向元朝派遣外交使团及进贡特产累计14次。同时,元朝为扩大忽必烈之声势并欲使素可泰臣服,因此遣使赴泰共4次,然却只有3次抵达。素可泰时期,中泰两国互派使臣,从而促进两国贸易发展。不仅如此,中国文化也流传至泰,例如中国工匠来泰烧制名为“宋卡洛”的瓷器,而该类瓷器后成为素可泰王国的重要出口商品。

เอกสารทางฝ่ายจีนได้ระบุว่า อาณาจักรสุโขทัยได้ส่งคณะทูตพร้อมด้วยของพื้นเมืองถวายเป็นกำนัลแก่จักรพรรดิราชวงศ์หยวนในจีน รวม 14 ครั้ง ระหว่าง พ.ศ. 1835 จนถึง พ.ศ. 1865ส่วนจีนสมัยราชวงศ์หยวนได้ส่งทูตมายังสุโขทัย 4 ครั้ง แต่มาถึงสุโขทัยเพียง 3 ครั้ง โดยมีเป้าหมายที่จะแผ่อำนาจของจักรพรรดิกุบไลข่านและให้สุโขทัยอ่อนน้อม การส่งทูตติดต่อระหว่างจีนกับไทยในสมัยสุโขทัยนี้ได้ส่งผลให้การค้าระหว่างอาณาจักรทั้งสองขยายตัว อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดความรู้ของจีนมายังไทย โดยช่างจีนได้เข้ามาทำเครื่องปั้นดินเผาจนเป็นที่รู้จักกันในนาม “เครื่องสังคโลก” ต่อมาเครื่องสังคโลกได้กลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัย

此后,素可泰渐渐衰落,在素攀那蒲米乌通王朝统治之下的阿瑜陀耶却慢慢崛起,并成为湄南河流域的一方“霸主”。而在华夏大地,中国百姓推翻蒙古政权并建立了明朝。中国文献将泰国称为“暹罗斛”,后简称为“暹罗”。这一名称于公元1370年首次出现在明朝的文献中:

ต่อมาสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง อยุธยาซึ่งอยู่ทางตอนใต้ภายใต้การนำของราชวงศ์อู่ทองของสุพรรณภูมิเข้มแข็งขึ้น และขึ้นมาเป็นใหญ่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่วนในแผ่นดินจีน ชาวจีนได้โค่นล้มราชวงศ์หยวนของเผ่ามองโกลและสถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พงศาวดารของจีนเรียกไทยว่า “เสียนหลอหู” และต่อมาย่อเป็น “เสียนโล้” ชื่อนี้ปรากฏในพงศาวดารราชวงศ์หมิงเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 1913 ว่า


“洪武三年(八月),命使臣吕宗俊等赍诏谕其国(暹罗)。” 

关于阿瑜陀耶王朝的首位国王向中国皇帝进贡之事,《明史》记载:

“(洪武)四年,其王参烈昭毗牙(昭披耶陛下,可能指一世王)遣使奉表,与宗俊等偕来,贡驯象、六足龟及方物,诏赐其王锦绮及使者币帛有差。”

“ปีที่ 3 ในรัชกาลหงหวู่ เดือนที่ 8 มีรับสั่งให้ลู่จงจุ้นกับพวกอัญเชิญพระบรมราชโองการ (ประกาศการขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิ) ไปยังประเทศสยาม” (เสียนโล้)

พระบรมราชาธิราชที่ 1 กษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา ได้โปรดให้ส่งของพื้นเมืองพร้อมทั้งเชิญพระราชสาส์นไปถวายจักรพรรดิจีน ซึ่งพงศาวดารราชวงศ์หมิง เล่มที่ 374 ได้บันทึกไว้ว่า

“ปีที่ 4 ในรัชกาลหงหวู่ เดือน 9 ซันเลียเจาพีเอี๋ย (สมเด็จเจ้าพระยา คงหมายถึงพระบรมราชาธิราชที่ 1) กษัตริย์ของประเทศสยามอัญเชิญพระราชสาส์น พร้อมด้วยลู่จงจุ้นและพวกมาถวายเครื่องราชบรรณาการ ซึ่งประกอบด้วย ช้างบ้าน 6 เชือก เต่าหกขา และของพื้นเมืองอื่นๆ (จักรพรรดิ)ทรงมีพระบรมราชโองการให้ประทานแพรกิมและแพรดอกขาวอย่างดีแก่กษัตริย์ (สบาม)”

一世王之后,公元1371年至1766年的近400年间,阿瑜陀耶共向中国派遣外交使团约130次,旨在维系友好关系,互促贸易往来。而处于明、清两朝交接时期的中国则17次派遣外交使臣前往阿瑜陀耶。明朝时期,永乐皇帝下令让伟大航海家郑和(原名马三宝或被泰民成为三宝公)率船队下西洋。该船队于公元1408年顺道前往阿瑜陀耶。阿瑜陀耶时期,中泰两国友好和睦,越来越多的中国人移民、定居在阿瑜陀耶,同时还在此担任公职。更甚者,这一时期中泰帆船贸易促使阿瑜陀耶日益繁荣,随之成为欧洲等西方国家和中国等东方国家之间的贸易中心。

หลังจากรัชกาลพระบรมราชธิราชที่ 1 แล้ว กรุงศรีอยุธยาได้ส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีเพื่อค้าขายกับจีนประมาณ 130 ครั้ง ในระยะเวลาเกือบ 400 ปี ระหว่าง พ.ศ. 1914 ถึง พ.ศ. 2309 ส่วนจีนในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ได้ส่งทูตมายังกรุงศรีอยุธยาประมาณ 17 ครั้งด้วยกัน ในสมัยราชวงศ์หมิง จักรพรรดิหย่งเล่อได้ส่งกองเรือนำโดยนายพลเรือเจิ้งเหอ (นามเดิมหม่าซานเปา หรือที่คนไทยเรียก ซำเปากง) นักเดินเรือที่ยิ่งใหญ่ของจีน ให้เดินทางมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแวะที่กรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 1951 สัมพันธภาพระหว่างจีนกับไทยในสมัยอยุธยานี้ได้ดำเนินไปอย่างราบรื่น มีชาวจีนอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในกรุงศรีอยุธยามากขึ้น และรับราชการอยู่กับฝ่ายไทย ยิ่งไปกว่านั้น การค้าสำเภาระหว่างไทยกับจีนในสมัยอยุธยานี้ได้ทำให้กรุงศรีอยุธยามั่งคั่งและกลายเป็นศูนย์กลางของการค้าระหว่างประเทศทางตะวันตกคือยุโรป กับประเทศทางตะวันออกคือจีนอีกด้วย

公元1767年,阿瑜陀耶被缅甸军队一举歼灭。随后,泰国统治者便将都城迁至吞武里;而在吞武里王朝和却克里王朝早期,都城又迁至曼谷。在此期间,泰中两国依旧睦邻友好。泰国仍频繁派遣外交使臣向中国皇帝进贡,意图发展帆船贸易。在吞武里王朝及却克里王朝前4位国王统治时期,泰国累计56次向中国派遣使者。公元1853年之前——尤其是却克里王朝前三位国王在位期间——泰国几乎每年都会向中国派遣外交使团。以帆船贸易为主的泰中两国之互利往来,使得早期的曼谷欣欣向荣。而在帆船贸易中获取的利益,也使泰国有足够的本钱建设国家,抵御缅甸入侵,复兴艺术文化与保护佛教。

เมื่ออยุธยาล่มสลายด้วยกำลังทหารของพม่าใน พ.ศ. 2310 ผู้นำไทยย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี และต่อมาที่กรุงรัตนโกสินทร์หรือกรุงเทพฯ ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประเทศไทยและประเทศจีนก็ยังคงมีสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน ไทยยังคงส่งทูตเชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการไปถวายแก่จักรพรรดิจีนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อขอความสะดวกในการค้าสำเภา ในสมัยธนบุรีและตลอด 4 รัชกาลแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ไทยได้ส่งทูตไปจีนรวม 56 ครั้ง จนถึง พ.ศ. 2396 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 รัชกาลแรก ไทยส่งคณะทูตไปจีนแทบทุกปี การติดต่อระหว่างประเทศไทยกับจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าสำเภา ได้สร้างความมั่งคั่งให้กับกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นอย่างมาก ผลกำไรจากการค้าสำเภากับจีน ทำให้ไทยมีเงินทุนเพียงพอในการสร้างบ้านเมืองเพื่อทำสงครามต่อต้านการรุกรานของพม่าและเพื่อการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

原文链接:

http://www.satit.up.ac.th/BBC07/AroundTheWorld/ir/21.htm


*以上内容来源于网络,本平台仅对信息进行收集和编译,对本信息的真实性,合法性和准确性不负责,本平台享有编译的最终解释权。


生词归纳


主播:李艾伦




单词整理:刘春艳

单词审核:陈明宏、潘蕾

       林伟珍

编辑:郭蕾

审核:胡应巧

发布及审核:玉娟香 熊洁


本文转载自四点零翻译工作坊

继续滑动看下一个
向上滑动看下一个

您可能也对以下帖子感兴趣

文章有问题?点此查看未经处理的缓存